สนาม: Shangdu.com
บทนำ: มหรรณพ แฉเมกปั่นกระแสค้านแก้ พรปกกต ยอดพรวดหลักแสนที่แท้มาจากไอพีแอดเดรสเดียว ล้มกระดานผู้ตรวจการเลือกตั้ง สนชทำท่าไปต่อลำบากส่อถอย สะพัด! วิปล็อบบี้ขอให้ทบทวน หวั่นเข้าทาง สสอ้างเป็นบรรทัดฐานแก้ กมลูก รื้อคดีอาญานักการเมือง-เลิกไพรมารีโหวต พทไม่พลาดยื่นเอาผิด 36 สนชทำผิด รธน มีความเคลื่อนไหวของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช) ต่อการแก้ไข พรบประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต) ในเรื่องผู้ตรวจการเลือกตั้ง ที่มีกระแสคัดค้านไม่เห็นด้วยในวงกว้าง โดยเมื่อวันจันทร์ นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ สนช กล่าวถึงกรณีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเรื่องการเสนอแก้ไข พรปดังกล่าว ที่มีประชาชนมากกว่า 1 แสนความเห็นแสดงความไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวว่า ได้ตรวจสอบโดยได้รับคำยืนยันจากฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐสภาแล้วว่า คะแนนไม่เห็นด้วยกว่า 1 แสนความเห็นที่ไม่สนับสนุนการแก้ไขกฎหมาย กกตนั้น มาจากไอพีแอดเดรสเดียวกัน เป็นลักษณะการใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ปั่นคะแนน ไม่ทราบว่าเป็นฝ่ายใดทำและมีเจตนาเพื่ออะไร แต่แสดงถึงความผิดปกติในการลงคะแนน นายมหรรณพกล่าวว่า การพิจารณาแก้ไข พรปกกตครั้งนี้ไม่ได้ยึดจำนวนคะแนนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยเป็นเกณฑ์สำคัญ เพราะเป็นการดำเนินการตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ ที่ให้ทำประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นจากประชาชนเมื่อมีการเสนอกฎหมายต่างๆ ดังนั้นจะดูจากความคิดเห็นของประชาชนเป็นหลักเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาต่อไป จำนวนคะแนนไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะไม่ใช่การทำประชามติที่ยึดเอาจำนวนคะแนนเป็นเกณฑ์ กรณีนี้เป็นการทำประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ ไม่ใช่การนับจำนวนคะแนน ส่วนการแสดงความคิดเห็นด้วยถ้อยคำรุนแรง ไม่สุภาพ เราไม่ถือสา เป็นการสะท้อนให้เห็นวุฒิภาวะของบุคคลนั้นๆ ทั้งนี้จะเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไข พรบประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งนี้ผ่านทางเว็บไซต์ wwwsenategoth ได้ต่อไปถึงวันที่ 18 สค จนครบกำหนด 15 วันในการรับฟังความคิดเห็น ส่วนกระแสข่าว สนชเตรียมถอนร่างแก้ไขกฎหมาย กกต หาก กกตชุดใหม่กับชุดเก่าสามารถตกลงเรื่องผู้ตรวจการเลือกตั้งได้นั้นไม่เป็นความจริง ขณะนี้ทุกอย่างยังเดินหน้าต่อไปตามขั้นตอน ยังเร็วเกินไปที่จะพูดว่าจะถอนหรือไม่ ขณะนี้เพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการเสนอกฎหมาย คือการรับฟังความเห็นจากประชาชนเท่านั้น ยังมีหนทางและขั้นตอนอีกยาวไกลจากวิป สนชและที่ประชุม สนช จึงจะรู้ว่า จะดำเนินการสำเร็จหรือไม่ แต่ยืนยันได้ว่าการเสนอกฎหมายครั้งนี้ไม่มีเจตนาก้าวล่วงหรือแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระ เป็นการทำหน้าที่ของ สนช เมื่อเห็นว่ากฎหมายใดมีข้อบกพร่องก็เสนอให้แก้ไข แต่จะแก้ไขสำเร็จหรือไม่เป็นเรื่องของอนาคต นายมหรรณพกล่าว ด้านแหล่งข่าวจาก สนชเปิดเผยว่า ขณะนี้สมาชิก สนชที่ร่วมกับนายมหรรณพเสนอแก้ไข พรปกกตดังกล่าว ได้รับการประสานจากวิป สนชบางรายให้ทบทวนการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของ สนชเพื่อป้องกันปัญหาระยะยาว เนื่องจากไม่ต้องการให้ร่าง พรบประกอบรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญลำดับรองลงมาจากรัฐธรรมนูญถูกแก้ไขได้ง่ายเหมือนกับกฎหมายทั่วไป นอกจากนี้หาก สนชในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติไปริเริ่มแก้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเสียเอง โดยที่องค์กรอิสระในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมายไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มแล้ว อาจเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ผิดในอนาคตได้ โดยเฉพาะสภาผู้แทนราษฎรจะอาศัยแนวทางที่ สนชทำไว้ ด้วยการให้ สสเข้าชื่อตามรัฐธรรมนูญอย่างน้อย 1 ใน 10 ของสภา แก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นตามรัฐธรรมนูญ พศ2560 เช่นกฎหมายพรรคการเมืองเพื่อยกเลิกการทำไพรมารีโหวต หรือ พรบประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ซึ่งจะส่งผลเสียในระยะยาว แหล่งข่าวจาก สนชระบุ แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ทางออกของเรื่องนี้คือ หาก กกตชุดปัจจุบันตัดสินใจว่าจะไม่ลงนามรับรองผู้ที่ผ่านการสรรหาเป็นผู้ตรวจการเลือกตั้ง โดยให้ กกตชุดใหม่ที่กำลังรอการโปรดเกล้าฯ มาทำการตรวจสอบรายชื่ออีกครั้ง วิป สนชจะแจ้งข้อมูลไปยังคณะ สนชที่ริเริ่มเสนอกฎหมายให้ทบทวนต่อไป ด้านว่าที่ พตสมบัติ วงศ์กำแหง อุปนายกฝ่ายบริหารและโฆษกสภาทนายความฯ กล่าวถึงเรื่องนี้ในประเด็นที่ สนชมีการแก้ไขโครงสร้างคณะกรรมการคัดเลือกในแต่ละจังหวัดยกเว้น กทม ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีประธานสภาทนายความจังหวัดจากเดิมที่เคยมี ว่ายังไม่เห็นร่างแก้ไข พรปกกตดังกล่าว ก็ไม่ทราบว่าร่างดังกล่าวออกมากี่วันแล้ว แต่ทราบว่ากระบวนการสรรหาเก่าจะมีประธานสภาทนายความจังหวัดอยู่ด้วย ก็ไม่ทราบเหตุผลในร่างแก้ไขดังกล่าว ทางสภาทนายความยังไม่ได้มีการหยิบยกเรื่องนี้มาพูดคุย ว่าที่ พตสมบัติกล่าวต่อว่า หากเป็นเช่นนั้นจริงคนที่ร่างกฎหมายต้องอธิบายเหตุผลให้ได้ว่า เหตุใดจึงตัดประธานสภาทนายความจังหวัดไป ซึ่งถือเป็นผู้ทรงคุณวุฒิมีความรู้ในกระบวนการกฎหมาย และเป็นเพียงกรรมการสรรหาคนหนึ่งเท่านั้น ถือเป็นบุคลากรที่เหมาะสมที่ควรจะมีส่วนร่วมในการคัดเลือกผู้ตรวจการเลือกตั้ง การที่ได้เข้ามาช่วยเป็นกรรมการสรรหาจะทำให้ได้รู้และช่วยตรวจสอบคัดกรองจากบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านกฎหมาย การที่ถอดออกต้องมีเหตุผลที่อธิบายได้ชัดเจน เพราะการมีอยู่น่าจะมีประโยชน์มากกว่า ถามถึงว่าสภาทนายความจะทำหนังสือค้านหรือสอบถามเหตุผลไปหรือไม่ ว่าที่ พตสมบัติกล่าวว่าตอนนี้ยังไม่ได้คุยกัน หลังจากนี้จะต้องมีพูดคุยกันในกรรมการบริหารก่อน ขณะที่นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา ให้ความเห็นกรณี กกตต้องการขอใช้มาตรา 44 แบ่งเขตเลือกตั้งว่า ขณะนี้เรื่องการกำหนดเขตเลือกตั้งนั้นเป็นปัญหา เนื่องจากไปผูกกันหมดทั้งเขตเลือกตั้ง เรื่องตัวแทนประจำจังหวัด เพราะหากไม่มีเขตเลือกตั้งจะเริ่มทำอะไรไม่ได้ และในการทำจะต้องให้ประชาชนหรือพรรคการเมืองให้ความเห็น แต่ถ้าให้ความเห็นจะกลายเป็นกิจกรรมทางการเมืองซึ่งจะขัดกับคำสั่ง คสช ดังนั้นหากไม่ใช้มาตรา 44 กกตจะไม่มีสิทธิ์ทำอะไรได้ ทั้งนี้ผู้รับฟังความเห็นในระดับจังหวัดคือผู้ตรวจการเลือกตั้ง ถ้าไม่มีตรงนี้ตรงนั้นก็ทำไม่ได้ เพราะ กกตส่วนกลางลงไปทำก็ไม่ได้ จึงเป็นเหตุให้ กกตต้องไปตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้งขึ้นมาก่อนเพื่อรอดำเนินการเรื่องนี้ ดังนั้นจุดนี้อาจจะทำให้การเลือกตั้งมีปัญหายืดเยื้อออกไป ส่วนเรื่องการเสนอแก้ไข พรบว่าด้วย กกตในเรื่องผู้ตรวจการเลือกตั้ง เขาอาจคิดกันว่าเป็นเรื่องง่าย แต่ในความจริงนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะเป็นการแก้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ แล้วที่พูดกันว่าไม่กระทบการเลือกตั้งนั้น จะไม่กระทบได้อย่างไรต้องกระทบแน่นอน กระทบโดยตรงและกระทบต่อผู้มีอำนาจอยู่ในขณะนี้คือพุ่งไปหา คสช ถึงได้บอกว่ามันจะเสียไม่คุ้มได้ เรื่องเหล่านี้เป็นประเด็นผูกโยงกันไปหมด นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต สว กล่าวว่า ตามที่ สนช 36 คนเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม พรปกกตดังกล่าว โดยความในมาตรา 9 ดังกล่าวมีเนื้อความเป็นการแก้ไขกฎหมายเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเจาะจงที่อาจขัดมาตรา 26 วรรคสอง และอาจเข้าข่ายการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา 185 (1) ตามมาอีกด้วย เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 185 (1) เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ สนชใช้สถานะไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินงานในหน้าที่ประจำของข้าราชการ หากใครกระทำการฝ่าฝืนมาตรานี้ก็อาจถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 101 (7) นายเรืองไกรกล่าวอีกว่า ทั้งนี้ความในร่างแก้ไขเพิ่มเติม พรปกกต (ฉบับที่) พศ มาตรา 9 ระบุไว้ว่า บรรดาการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการคัดเลือกและการแต่งตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้ง ซึ่งได้ดำเนินการอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันสิ้นผลไปนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้มีผลใช้บังคับ แต่รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า กฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ตามร่าง พรปกกต มาตรา 9 ที่จะใช้บังคับแก่กรณีผู้ตรวจการเลือกตั้งเป็นการเจาะจงนั้น จึงอาจขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคสอง และอาจมีลักษณะเข้าข่ายตามความในมาตรา 185 (1) ที่ กกตสามารถส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ ดังนั้นจะไปยื่นหนังสือให้ กกตใช้อำนาจตามมาตรา 82 วรรคสี่ พิจารณาตรวจสอบเพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป โดยจะไปยื่นหนังสือร้องด้วยตนเองที่สำนักงาน กกตวันที่ 14 สค...
สนาม: NetEase
บทนำ: สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยในประเทศไทย นายนิวัติกล่าวว่า มี 54 จังหวัด 5,000 หมู่บ้าน โดยกำหนดการเตือนภัยในพื้นที่สีแดง ปริมาณน้ำฝนสะสม 100 มิลลิเมตรต่อวันก็เกิดดินถล่มแล้ว พื้นที่สีเหลือง 200 มม พื้นที่สีเขียว 300 มม อันตราย นอกจากนี้ จากกิจกรรมมนุษย์ที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับธรรมชาติมากยิ่งขึ้น จะต้องมีการกำหนดกฎหมายป้องกัน แม้จะเริ่มดำเนินการ แต่การปูพรมก็ไม่ทันประชาชนที่เข้าไปใช้ประโยชน์พื้นที่เสี่ยงดินถล่ม
ลิงค์ที่เป็นมิตรเวลาปัจจุบัน:2021-04-21